ข้อสอบสสวท.คืออะไร?
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท) จัดให้มีการสอบแข่งขันทั่วประเทศทุกปี
เพื่อคัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
นักเรียนที่ผ่านการสอบคัดเลือกจะได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาศักภาพของตัวเองอย่างเต็มที่
โดยเข้าร่วมโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
การสอบคัดเลือกแบ่งเป็น 2 ระดับ
1) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3
2) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6
วิชาที่ใช้สอบมีเพียง 2 วิชาคือ วิชาวิทยาศาสตร์ และ วิชาคณิตศาสตร์
นักเรียนที่ต้องการลงสนามสอบแข่งขันจำเป็นต้องวางแผนการเรียนล่วงหน้า
เนื่องจากเนื้อหาในข้อสอบจะมีมากกว่าเนื้อหาที่เรียนตามปกติในโรงเรียน
นักเรียนสามารถศึกษาขอบเขตของเนื้อหาที่ใช้ออกข้อสอบได้จากข้อสอบของปีที่ผ่านมา
เว็บข้อสอบออนไลน์ได้รวมรวมข้อสอบสสวท.ของปีที่ผ่านมาไว้ให้นักเรียนใช้ฝึกเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนลงสนามสอบจริง
ข้อสอบคณิตศาสตร์ของสสวท.เป็นข้อสอบที่ต้องใช้ตรรกและเทคนิคในการแก้ปัญหา
นักเรียนที่สามารถทำข้อสอบระดับนี้ได้จึงเป็นนักเรียนที่มีทักษะในการคิดตรรกมากกว่านักเรียนทั่วๆไป
แม้ว่าข้อสอบคณิตศาสตร์ของสสวท.ที่ใช้สอบแข่งขันจะยากเกินไปสำหรับนักเรียนทั่วๆไป แต่ก็ควรส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้ทำข้อสอบเหล่านี้
กำหนดวันสอบของสสวท.
สสวท.จัดสอบพร้อมกันทั่วประเทศทุกปี กำหนดการโดยประมาณเป็นดังนี้
เปิดรับสมัครนักเรียนเข้าสอบ
เปิดรับสมัครนักเรียนทั่วประเทศเข้าสอบประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายน นักเรียนสมัครสอบผ่านทาง
เว็บไซต์ของโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ http://genius.ipst.ac.th
สอบคัดเลือกรอบที่ 1
สอบคัดเลือกรอบที่ 1 ประมาณเดือนพฤศจิกายน
สอบเพียง 2 วิชา คือ วิทยาศาสตร์ และ คณิตศาสตร์
ประกาศผลสอบรอบที่ 1 ประมาณเดือนธันวาคม
นักเรียนที่เข้าสอบจากทั่วประเทศจะได้รับคัดเลือกในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ชั้นละประมาณ 1,000 คนต่อวิชา
สอบคัดเลือกรอบที่ 2
สอบคัดเลือกรอบที่ 2 ประมาณเดือนมกราคม
สอบเพียง 2 วิชา คือ วิทยาศาสตร์ และ คณิตศาสตร์
ประกาศผลสอบรอบที่ 2 ประมาณเดือนกุมภาพันธ์
นักเรียนที่ได้รับคัดเลือกจากการสอบคัดเลือกรอบที่ 1 จะมีสิทธิ์สอบคัดเลือกรอบที่ 2 เพื่อรับรางวัลเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง
โดย สสวท. จะคัดไว้ชั้นละประมาณ 100 คนต่อวิชา
การสอบภาคปฏิบัติ (เฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์)
นักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกในรอบที่ 2 วิชาวิทยาศาสตร์จะต้องไปสอบภาคปฏิบัติ โดยจะนำคะแนนสอบรอบที่ 2
มารวมกับคะนนสอบภาคปฏิบัติเพื่อจัดลำดับรางวัล เหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง
สำหรับรายละเอียดอื่น ๆ ติดตามได้จากเว็บไซต์ของโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ http://genius.ipst.ac.th
เพื่อให้นักเรียนพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์